1 min read
แมวตาสองสีคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร...

แมวตาสองสีคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร...

เมื่อเรานึกถึง ‘ตาแมว’ เราก็มักจะนึกภาพตาสีเขียว ฟ้า หรือเหลืองอำพัน นานๆ ทีถึงจะเจอแมวตาสองสี ในคนเองก็มีลักษณะตาแมวเหมือนกัน เนื่องจากมนุษย์มีสีตาที่แตกต่างกัน แมวที่มีตาสองสีจะให้ความงามที่ดูแปลกตา

ว่าแต่... แมวตาสองสีคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไรล่ะ? ลักษณะตาสองสีนี้เรียกว่า asheterochromia iridis เป็นภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่า สีตาที่แตกต่างกัน

จำนวนเมลานิน หรือก็คือเม็ดสีที่ทำให้สีผิวของเราเข้มขึ้นเมื่อตากแดด เป็นตัวกำหนดสีตาของคนและแมว แมวบางตัวมียีนจุดสีขาว หรือยีนสีขาวซึ่งจะทำให้เกิดลักษณะ heterochromia ของสีตา

ลูกแมวทุกตัวตอนแรกเกิดจะมีตาสีฟ้า เมื่อลูกแมวเริ่มโตจนอายุราวๆ 7-12 สัปดาห์ เม็ดสีก็จะเคลื่อนที่ไปยังม่านตา จากตาสีฟ้าก็จะเปลี่ยนเป็นสีตาที่แท้จริงของแมวแต่ละตัว หากว่าเม็ดสีตาไม่ได้ย้ายไปยังม่านตา แมวตัวนั้นก็จะมีตาสีฟ้า  แต่ถ้าเม็ดสีเคลื่อนที่ไปที่ตาข้างเดียว ตาข้างหนึ่งก็จะเป็นสีฟ้า ส่วนตาอีกข้างหนึ่งก็อาจจะเป็นสีเหลือง เขียว หรือน้ำตาล

ลักษณะ heterochromia ที่ไม่สมบูรณ์เกิดจากที่ตาข้างหนึ่งมีมากกว่า 1 สี ในขณะเดียวกัน ลักษณะ heterochromia จะสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อตาข้างหนึ่งมีสีแตกต่างจากตาอีกข้าง

แมวบางพันธุ์ก็มีตาสองสีแบบสมบูรณ์ เช่น แมวพันธุ์ Turkish angora, Japanese bobtail และ Turkish van ลักษณะ heterochromia จะพบมากในแมวสีขาว หรือแมวสีอะไรก็ตามที่มียีนส์สีขาว สำหรับแมวเมนคูนนั้นก็สามารถเกิดตาสองสีได้เช่นกัน  ปัจจุบันฟาร์มแมวเมนคูนตาสองสีที่ไม่ใช่แมวขาวล้วนในไทยมีเพียงฟาร์มเดียวคือฟาร์ม Issycozy ซึ่งในปัจจุบันฟาร์มได้ปิดแล้ว

แม้ว่าลักษณะ heterochromia จะไม่แสดงอาการใดๆ แต่ก็เป็นตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของยีนส์ การบาดเจ็บหรืออาการเจ็บป่วย บ่อยครั้งที่แมวที่หูหนวกข้างเดียวมักจะแสดงลักษณะตาสองสี แต่อย่างไรก็ตาม แมว 60-70% ที่มีตาสองสีก็ไม่มีปัญหาด้านการได้ยินแต่อย่างใด ลักษณะ heterochromia ไม่เพียงแต่พบได้ในแมวสีขาวเท่านั้น แต่เกิดกับแมวสีอื่นๆ ด้วยที่มียีนส์นี้ แต่เราก็ไม่จำเป็นจะต้องกังวลไป

แมวที่มีอายุมากบางตัวก็มีลักษณะ heterochromia แสดงออกมา ซึ่งอาจเกิดจากการที่เลือดหรือธาตุเหล็กไปสะสมอยู่ในช่องที่อยู่ใกล้กับตา หากว่าแมวโตเต็มวัยของคุณเปลี่ยนสีตาอย่างรวดเร็ว ให้ปรึกษากับสัตวแพทย์

ลักษณะตาสองสีของแมวไม่ได้ส่งผลต่อสัญชาตญาณการมองเห็น การกระโดด การนอนหลับ หรือการเคลื่อนไหว ลักษณะตาที่โดดเด่นนี้ทำให้แมวมองเห็นได้ชัดเจนอย่างที่เราเห็น หรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ

แม้ว่าการที่ลูกแมวเปลี่ยนสีตาตอนที่เริ่มโตขึ้นเป็นเรื่องปกติ นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อแมวแก่ตัวลงและเริ่มเปลี่ยนสีตาก็เป็นเรื่องปกติเช่นกัน หากแมวโตเปลี่ยนสีตา เราก็ควรจะนำไปตรวจกับสัตวแพทย์ทันที




เครดิต: www.petful.com  ,#MaleeAndFriends ,https://en.wikipedia.org/wiki/Heterochromia_iridum 

เครดิตรุปภาพ : ฟาร์ม Issycozy