ข้อควรระวังต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนเลี้ยงแมวสายพันธ์เมนคูน
ไม่ว่าเราจะเลี้ยงแมวสายพันธ์ใดๆ ก็ตามข้อสำคัญที่พึงระลึกก่อนเลี้ยงแมวสักตัวควรรู้จักโรคประจำสายพันธ์และข้อควรระวังในสายพันธ์กันนะคะ เพื่อจะได้ดูแลน้องๆได้อย่างถูกต้องและรับมือการสภาวะที่จะเกิดขึ้นค่ะ
โรคทางพันธ์ุกรรม
โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy)
โดยส่วนมากไม่พบในแมวแด็ก แต่จะพบในแมวที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีเป็นต้นไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแมวแต่ละตัวด้วย ดังนั้นควรคัดเลือกแมวเมนคูนที่พ่อแม่ผ่านการคัดกรองโดยการตรวจยีนส์โรคหัวใจมาแล้วนะคะว่าไม่มียีนส์โรคหัวใจแฝง รวมถึงหลังจากรับน้องมาเลี้ยงแล้วแนะนำว่า เมื่ออายุครบ 1 ปีขึ้นไปให้เข้าโปรแกรม Check up โรคหัวใจทุกปี
โรคกล้ามเนื้อกระดูกสันหลังฝ่อ (Spinal Muscular Atrophy) โดยเกิดขึ้นจากการตายของเซลล์ประสาทไขสันหลังที่กระตุ้นกล้ามเนื้อกระดูกสันหลังและขา ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและฝ่อ ซึ่งจะทำให้เแมวเดินผิดปกติ แต่โรคนี้ไม่ได้ทำให้เมนคูนเจ็บปวดแต่อย่างใด สามารถเลี้ยงไว้ในบ้านตามปกติ โดยสาเหตุของโรคนี้เกิดขึ้นจากปัญหาด้านพันธุกรรม และในปัจจุบันก็สามารถตรวจความเสี่ยงของโรคนี้ได้ด้วยการตรวจดีเอ็นเอแล้วนะแต่lab ในไทยยังไม่มีที่ไหนรับตรวจจะต้องเป็นการส่งตรวจที่ lab ต่างประเทศเท่านั้น
ข้อควรระวังอื่นๆ
โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia) เนื่องจากเมนคูนเป็นแมวพันธ์ใหญ่ น้ำหนักตัวเยอะ จึงพบโรคนี้ได้มากกว่าแมวพันธุ์อื่นๆ ควรระมัดระวังเรื่องน้ำหนักอย่าให้อ้วนเกินไป เน้นที่การดูแลด้านโภชนาการเป็นหลัก อาการที่สามารถพบได้คือ เมนคูนจะไม่ยอมเดิน วิ่ง หรือกระโดดเหมือนเมื่อก่อน เนื่องจากสภาวะข้อสะโพกเสื่อมอยู่ก็ได้นะ
น้ำเข้าหู แมวเมนคูนเป็นแมวที่ชอบเล่นน้ำ ซึ่งขัดกับภาพแมวทั่วๆไปที่เราคิดกัน ร่วมกับเป็นแมวที่มีใบหูขนาดใหญ่และเปิดทำให้น้ำสามารถเข้าไปในหูได้ง่ายขึ้นจึงต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเวลาอาบน้ำ เมื่อน้ำเข้าหูสิ่งที่จะตามมาคือการสบัดหูของเมนคูนทำให้เส้นเลือดฝอยไปอุดตันที่ปลายหูจนเป็นก้อนบวม
ภาวะ Heat Stroke (ลมแดด) เมนคูนเป็นแมวที่วิวัฒนาการมาในเมืองหนาว ทำให้มีขนที่หนาถึง 2 ชั้น เปรียบเสมือนคนที่ใส่เสื้อกันหนาวตัวหนาๆอยู่ตลอดเวลา ทำให้เมนคูนสามารถเป็นโรคลมแดด (Heat Stroke) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองร้อนอย่างประเทศไทย วิธีป้องกันที่สามารถทำได้คือ พยายามให้เมนคูนอยู่ในที่เย็นๆ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในแอร์ตลอดเวลาก็ได้นะคะ แต่ขอให้เป็นสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่สัมผัสกับอากาศร้อนโดยตรง หรืออาจจะตัดแต่งขนด้วยบ้างเพื่อช่วยบรรเทาความร้อน
ภาวะนิ้วเกิน ภาวะนิ้วเกิน (Polydactyly) เป็นภาวะที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมโดยมีลักษณะเป็นยีนเด่น ปกติแล้วแมวจะมี 5 นิ้วในขาหน้า และมี 4 นิ้วในขาหลัง รวมกันเป็นทั้งหมด 18 นิ้ว แต่ในแมวที่เป็นภาวะนี้จะมีเกินกว่านั้น โดยพบว่าในขาหน้าจะมีโอกาสเป็นได้มากกว่าขาหลัง แมวพันธุ์เมนคูนเคยเป็นพันธุ์ที่พบลักษณะนี้ได้บ่อย แต่ปัจจุบันพบได้น้อยลงเนื่องจากแมวที่มีนิ้วเกินไม่ได้รับการรับรองมาตราฐานจากสมาคม CFA ของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนในสมาคม WCF ของประเทศเยอรมันแมวที่มีนิ้วเกินสามารถจดเพ็ดดีกรีได้แต่ระบุเป็น Poly และแมวเมนคูนปกติทีผสมพันธ์กับแมวที่มีนิ้วเกิน จะถูกแยกออกมาเป็น Poly โดยจะถูกระบุว่าเป็น Poly บนในเพ็ดดีกรีเช่นกัน สำหรับเรื่องการประกวดนั้นสำหรับ สมาคม CFA นั้นไม่มีแน่นอน แต่ในส่วนของสมาคม WCF ในต่างประเทศมีการจัดประกวดสำหรับแมว Poly เฉพาะแยกเป็นอีกประเภทนึงในการแข่งขัน แต่จะต้องมีการขอ license พิเศษ เนื่องจากยังเป็น breed ทียังเป็น breed ทดลองยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเต็มตัว และในประเทศไทยปัจจุบันยังไม่มีการจัดงานประกวดสำหรับแมว poly ด้วยข้อจำกัดนี้ทำให้ ทำให้ไม่มีผู้เพาะพันธุ์แมวที่มีลักษณะนี้ต่อนั่นเอง
***สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระเพื่อเป็นแบ่งปันความรู้แก่ผู้มีที่มีความรักและสนใจในสายพันธ์เมนคูน แต่ขอเป็นไม่ใช่เชิงพาณิชย์นะคะ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ นะคะ ขอบพระคุณค่ะ
=***=========
Tigercooncat Cattery
“We hope you have happiest moments with my cat with Tigercooncat “ WCF/CFA registered Maine Coon Cattery in Thailand
Facebook : Tigercooncat
IG : tigercooncat
Line id : tigercooncat
E-mail : tigercooncat@gmail.com
Visit : tigercooncat.com
Mobile : 0813550105
#Mainecooncat #mainecoonhightwhite
#mainecoon #เมนคูน #ลูกแมวเมนคูน
#tigercooncat #แมวที่มีเวทย์มนต์ทำให้คนหลงรัก #ฟาร์มแมวเมนคูน #ลูกแมวเมนคูนแท้สายเลือดแชมป์ #พ่อพันธ์แม่พันธ์นำเข้า
#mainecoonthailand #ฟาร์มเมนคูนแท้ #mainecoonimport #เมนคูนนำเข้า #CFA #WCF #เมนคูนcfa #แมวประกวด #ประกวดแมว #แมวเมนคูนประกวด #เมนคูนแท้ #Silvermainecoon #silvershadedMainecoon #เมนคูนสีหายาก #Mainecoonstory
.